วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรมไทย

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7084 ข่าวสดรายวันอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ 128 ปีศาลยุติธรรมไทยรายงานพิเศษในวาระ ศาลยุติธรรมสถาปนาครบรอบ 128 ปี สำนักงานศาลยุติธรรมจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง "ศาลยุติธรรม ความคาดหวังของสังคมไทย" ที่ห้องประชุมชั้น 7 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 21 เม.ย.โอกาสนี้ นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้การอยู่ ร่วมกันของมนุษย์ไม่ว่าระดับสังคมหรือประเทศ ต้องมีกฎระเบียบตามสุภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั่นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย"ประเทศชาติเหมือนกัน ไม่ว่าประเทศใดในโลกปกครองด้วยระบอบใด ต้องมีกฎระเบียบ กฎหมายปกครองประเทศทั้งนั้นสิ่งสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองในแบบนิติรัฐ เป็นการปกครองโดยกฎหมายที่ออกแบบโดยประชาชนหรือตัวแทนประชาชน การใช้อำนาจรัฐต้องมีกฎหมายให้อำนาจ ถ้าไม่มีแล้วจะทำไม่ได้ โดยเฉพาะการเข้าไปก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของประชาชนสรุปได้ว่าการปกครองแบบนิติรัฐ คือ ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจประการต่อมา ต้องมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนประการที่ 3 มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันประการที่ 4 ต้องมีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความยุติธรรมกับประชาชนที่มีข้อพิพาทองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองแบบนิติรัฐ และจะมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงได้ ต้องประกอบด้วยหลักสำคัญอีกประการ คือ หลักนิติธรรมถ้าจะบอกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนอย่างเดียว ผมเห็นว่ายังไม่เพียงพอ ต้องเป็นการปกครองแบบนิติรัฐควบคู่ไปกับหลักนิติธรรม ซึ่งปัจจุบันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยอดีตมักพูดกันเฉพาะตัวกฎหมาย แต่ไม่พูดถึงความถูกต้องชอบธรรมขณะที่มาตรา 3 รัฐธรรมนูญปี"50 บัญญัติว่าการทำหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม คือการปกครองโดยกฎหมายซึ่งเป็นธรรมประการแรก คือ กฎหมายที่ใช้บังคับต้องออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวประการที่สอง การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความยุติธรรม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ คือไม่ให้สิทธิคนหนึ่งดีกว่าอีกคนหนึ่งประการที่สาม ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีความรู้ มีความยุติธรรม คือเป็นผู้ที่มีความเก่งและความดีและประการที่สี่ การบังคับใช้กฎหมายต้องมีกระบวนการยุติธรรมตรวจสอบโดยองค์กรที่เป็นอิสระและ เป็นกลางขณะที่ความสำคัญขององค์กรตุลาการ ปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ประธานศาลฎีกานำผู้พิพากษาเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณในการเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 15 พ.ค.51 ทรงกล่าวไว้มีความตอนหนึ่งว่า"บ้านเมืองต้องมีผู้พิพากษา ต้องมีผู้รักษาความยุติธรรม ต้องมีศาลเพื่อรักษาความยุติธรรมนี้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าในบ้านเมืองถ้าไม่มีความยุติธรรม บ้านเมืองก็จะล่มจม"บทบาทภาระหน้าที่ขององค์กรตุลาการศาลยุติธรรมนั้น คือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความยุติธรรมต่อประชาชนที่มีข้อพิพาทการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ศาลต้องมีผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ เที่ยงธรรม และมีความสามารถบทบาทและหน้าที่ขององค์การตุลาการหรือศาลยุติธรรม ปรากฏชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติ ธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์เรื่องนี้มีบัญญัติในประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการ ในหมวด 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ผู้พิพากษาที่กล่าวว่า "หน้าที่สำคัญของผู้ พิพากษาในวิชาชีพก็คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี"ซึ่งคำว่า "ยุติธรรม" เป็นหัวใจของวิชาชีพตุลาการและเป็นจริยธรรมอุดมการณ์ที่นักกฎหมาย ไม่ว่าประกอบวิชาชีพแขนงใดต้องยึดถือปฏิบัติ โดยความยุติธรรมเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรตุลาการ และเป็นความหวังของทุกคนในสังคม ไม่ว่าคนยากจน คนรวย คนดี หรือคนไม่ดี ต่างหวังความยุติธรรมจากองค์กรตุลาการหรือศาลยุติธรรมบุคคลที่ ล่วงละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา ต่างต้องการความยุติธรรมว่าการละเมิดกฎหมายของเขาควรต้องได้รับผลที่เป็น ธรรมตามความเป็นจริงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 20 เม.ย.30 ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อครั้งประธานศาลฎีกานำ ผู้พิพากษาเข้าเฝ้าฯ ด้วยว่า"คำว่ายุติธรรมนั้นเป็นคำที่แปลว่าการตกลงพิจารณาในทางที่ถูกต้องตามธรรมะ และธรรมะนี้ก็หมายความว่าสิ่งที่ควรจะปฏิบัติให้นำความเจริญแก่มวลมนุษย์ ในการปฏิบัตินี้ก็จะต้องมีความเที่ยงตรงและปราศจากอคติ"นอกจากนี้ พระองค์ยังคงมีพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งว่า"บ้านเมืองนี้ต้องมีความยุติธรรม เพราะถ้าไม่มีความยุติธรรมก็จะต้องมีความเดือดร้อน จะต้องมีความไม่สงบ ยุติธรรมก็หมายความว่าธรรมะ คือสิ่งที่ถูกต้องและยุติก็ยุติ ก็หมายความว่าดูได้ว่าอะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม"ความยุติธรรม จึงเป็นการยุติในธรรมะ การยุติความขัดแย้งต่างๆ ให้เป็นไปตามธรรมะซึ่งธรรมะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ การยุติข้อขัดแย้ง ต่างๆ ให้เป็นไปตามธรรมะ จึงเป็นวิถีการของมนุษย์และรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ นำไปสู่ความสงบสุขของมนุษย์และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาโดยความยุติธรรมมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่ามนุษย์นั้นจะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นประชาชน และการใช้ความยุติธรรมแก่ทุกคนต้องเป็นในทุกมิติ ทั้งฝ่ายรัฐกับรัฐ รัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชนการอำนวยความยุติธรรมขององค์กรตุลาการและผู้พิพากษานั้น สิ่งสำคัญคือสังคมต้องเชื่อถือศรัทธาในองค์กรตุลาการและผู้พิพากษาที่ทำ หน้าที่อำนวยความยุติธรรมนั้นโดยผู้พิพากษาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ซื่อ สัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบัน ตุลาการที่สำคัญต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่า ตนได้ปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของระบบศาลยุติธรรมสาระสำคัญการอำนวยความยุติธรรมของผู้พิพากษาตุลาการจึงอยู่ที่การดำรงตน ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่และในด้านส่วนตัวที่จะต้องยึดมั่นในหลักธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชนให้ยอมรับการอำนวยความยุติธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น